การเลี้ยงไก่เนื้อการจัดเลี้ยงดูไก่เนื้อ ไก่เนื้อในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพการใช้อาหารดีมากขึ้นตามลำดับ การจัดการเลี้ยงดูมี ส่วนเสริมให้ดีขึ้นด้วย การจัดการเลี้ยงดูที่สำคัญได้แก่
1. การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ มีการเตรียมเช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ซึ่งฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ ที่สมบูรณ์ควรมี
– โรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
– โรงเรือนเก็บอาหาร ยา และอุปกรณ์การเลี้ยง
– อาคารอาบน้ำสำหรับบุคคลที่จะเข้าฟาร์ม
– สำนักงาน
– บ้านพัก
– โรงเรือนสเปรย์ยาฆ่าเชื้อรถยนต์ภายนอกฟาร์ม
– โรงเก็บวัสดุรองพื้น
– ระบบน้ำภายในฟาร์ม
ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อนั้นควรจะสร้างให้มีความกว้าง 10 เมตร และยาวประมาณ 104 เมตร ภายในนั้นแบ่งเป็นล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร และมีที่เก็บอาหารประจำโรงขนาด 40 ตารางเมตร และมีอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงพร้อมโรงเรือนและอุปกรณ์ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อก่อน ต่อมาจะทำการปูด้วยวัสดุรองพื้น และจัดอุปกรณ์เข้าโรงเรือน จากนั้นใช้ยาฆ่าเชื้อฉีดพ่นเป็นฝอยอีกครั้ง
2. การนำลูกไก่เข้าเลี้ยงและการเลี้ยงดู ก่อนนำลูกไก่เข้าเลี้ยงจะต้องตรวจความพร้อมอีกครั้ง และนำลูกไก่ลงปล่อย ปกติพื้นที่ 1 ล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร จะปล่อยลูกไก่ 1600-2000ตัว
3. การให้น้ำและอาหาร เป็นงานปกติที่ต้องทำประจำวัน ไก่เนื้อควรให้อาหารบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น การใช้ถังอาหารแบบแขวน ควรเข้าไปเขย่าบ่อยๆ เช่นกัน สำหรับน้ำควรมีให้กินตลอดเวลา และควรล้างภาชนะให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
4. การให้แสงสว่างสำหรับไก่เนื้อ ไก่เนื้อต้องการแสงสว่างเพื่อให้สามารถกินอาหารได้ตลอดวันและตลอดคืน ดังนั้นจึงต้องให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ
5. การกกไก่เนื้อ เป็นการจัดการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง จำเป็นเพื่อให้ลูกไก่ค่อย ๆ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
6. การให้วัคซีน ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรค นิวคลาสเซิล ฝีดาษ และ หลอดลมอักเสบ ซึ่งจะให้ตามโปรแกรมวัคซีนสำหรับไก่เนื้อ
7. การจับไก่เพื่อจำหน่าย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเลี้ยงไก่เนื้อการจับไก่จำหน่ายควรทำช่วงอากาศเย็นหรือช่วงเวลากลางคืน
8. การควบคุมโรคในไก่เนื้อ อาศัยหลาย ๆ อย่าง ประกอบกันดังนี้
– การจัดการโดยใช้หลักการ
– Isolation การเลือกพื้นที่ห่างจากชุมชน
– Protection การป้องกันพาหะนำโรค
– All -in all-out system
– Idle period การพักเล้า
– Sanitation การสุขาภิบาล ได้แก่ การล้าง การฆ่าเชื้อ การเข้าเล้าต้องจุมเท้าก่อน หรือการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าเล้า และการฆ่าเชื้อภายนอก
– Health Promotion ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดี เช่น การระบายอากาศ การกก น้ำและอาหาร
– การทำวัคซีน (vaccination program)
– การกำจัดโรค( disease elimination)
– คัดเลือกลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงควรปราศจากเชื้อ
– ป้องกันความเครียดต่าง ๆ
– รีบให้การรักษา
– คัดไก่ป่วยออก ทำลายซากไก่ที่ตาย
ข้อมูลสำหรับการวางแผนเลี้ยงไก่เนื้อ
1. วัสดุสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อมาตรฐาน ขนาดโรงเรือน 10 * 104 เมตร ใช้วัสดุดังนี้
– สังกะสี 11,500 ฟุต
– ไม้ 1.50*4 จำนวน 250 ลบ. ฟุต
– ไม้ 1.50*3 จำนวน 150 ลบ. ฟุต
– โครงเหล็กหลังคา 27 โครง
– ปูน 600 ถุง
– ตาข่าย 1500 เมตร
– ตอม่อ 54 ต้น
– อิฐบล๊อก 1000 ก้อน
2. อุปกรณ์
– เครื่องกกฝาชี 1 อัน ต่อไก่ 500-600 ตัว
– ถาดอาหาร 1 อัน ต่อไก่ 100 ตัว ช่วง 0-7 วัน หรือ ช่วง 0-3 วัน
– รางอาหาร 24 ฟุต 3 อันต่อไก่ 100 ตัว ช่วง 4-10 วัน
– ถังอาหารแบบแขวน 3 อันต่อไก่ 100 ตัว ช่วงวันที่ 10 ขึ้นไป
– ถังน้ำ ขนาด 1 แกลอน 0-7 วัน ใช้ 1 ถัง/100 ตัว
8-21 วัน ใช้ 2 ถัง/100 ตัว , 21 วันขึ้นไป ใช้ 3 ถัง/100 ตัว
3. อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม
4. ความต้องการอาหารของไก่เนื้อ
อายุ (สัปดาห์) /ปริมาณอาหารที่กิน ( กรัม/ตัว)
1 /185
2 /553
3 /1019
4/ 1983
5/ 2433
6 /3347
การเตรียมอาหารสำหรับไก่เนื้อ 1000 ตัว
ช่วง 1-28 วัน ใช้อาหาร 38 ถุง
ช่วง 29-42 วัน ใช้อาหาร 66 ถุง
5. ความต้องการน้ำของไก่เนื้อ
อายุ (สัปดาห์)/ ปริมาณที่กิน (กรัม/ตัว/วัน)
1/ 19
2/ 38
3/ 57
4/ 76
5 /95
6/ 114
6. น้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโตและอัตราแลกเนื้อ (น้ำหนัก ลูกไก่เริ่มเลี้ยง 44 กรัม)
ช่วงอายุ (wk) /น้ำหนักตัว /อัตราการเจริญเติบโต/ อัตราแลกเนื้อ
0-1/ 164 /17.24 /1.57
0-2 /397/ 25.20 /1.57
0-3 /718/ 32.11 /1.51
0-4 /1065/ 36.16 /1.65
0-5 /1448/ 40.13/ 1.73
0-6/ 1828 /42.48 /1.88
การเลี้ยงไก่เนื้อ
เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย มีราคาถูก นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง
การเลี้ยงไก่เนื้อ
สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 100 เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม กันหนู และงูได้
ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ พักเล้าไว้ประมาณ 10 วัน แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
การเตรียมอาหารสำหรับไก่เนื้อ 1000 ตัว
ช่วง 1-28 วัน ใช้อาหาร 38 ถุง
ช่วง 29-42 วัน ใช้อาหาร 66 ถุง
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่เนื้อ
1. นำไก่เนื้อเกรด A อายุ 1 วัน มาเลี้ยงในเล้ากก ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ 100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น ก่อนนำไก่ลงเล้ากก หว่านสเม็คไทต์ผง บางๆให้ทั่วเล้ากกและผสม ไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตราส่วน 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม
เมื่อครบ 10 วัน ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย 21 % ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาห์ โดยช่วงนี้เริ่มใช้สเม็คไทต์ผง คลุกเคล้าในอัตราส่วน 3 % ของอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่สร้างสารพิษที่ เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้ แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายส่วนหนึ่งของไก่เนื้อ การป้องกันอีกวิธีหนึ่งคือการผสมไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตรา 10 ซีซี. น้ำ 20 ลิตร ให้ไก่กินช่วยกระตุ้นการกินอาหาร เสริมประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร
เมื่อไก่อายุครบ 48-50 วัน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.2 กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน 5 % ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ อายุไก่ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสูง เนื่องการเป็นช่วงเร่งการเจริญเติบโต ทั้งการเพิ่มอาหารที่เปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง พื้นที่ความหนาแน่นของจำนวนไก่ การแย่งอากาศ ความเครียด และการสะสมของแอมโมเนีย เนื่องจากพื้นคอกไม่ได้ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนถ่าย ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายช่วงใกล้จะจำหน่าย ปัญหานี้การจัดการคือเพิ่มปริมาณการหว่านสเม็คไทต์ให้ถี่ขึ้น การสังเกตจากกลิ่นแอมโมเนียในโรงเรือน โดยการนั่งยองๆ ก้มหัวลงให้ใกล้ระดับพื้นคอก สังเกตจุดที่มีกลิ่นเหม็นแล้วทำการหว่านสเม็คไทต์ทับ
**หมายเหตุ หากนำมูลไก่ที่หว่านโรยด้วยสเม็คไทต์ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยละลายช้าที่มีซิลิก้า ช่วยให้พืช แข็งแกร่ง ต้านทาน โรค แมลงได้ดีขึ้น เคล็ดลับ การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี ต้องรักษาความสะอาด การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้ อาจใช้การเปิดเสียงเพลงเบาๆ เพื่อไม่ให้ไก่ตกใจกับเสียงภายนอกมากเกินไป
การเลี้ยงไก่เล็กนับว่าเป็นการเลี้ยงระยะที่สำคัญมากที่สุด หากมีการเลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีย่อมที่จะให้เนื้อและไข่ที่ดีในโอกาสต่อไป เพราะไก่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ การแสดงลักษณะทางพันธุกรรมก็จะแสดงออกได้เต็มที่ตามสายพันธุ์ของไก่จึงจำเป็นต้องคำนึงถึง
1. วางแผนการเลี้ยงแบบเข้าพร้อมกัน - ออกพร้อมกัน เพื่อให้การเลี้ยงไก่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี ระบบการเลี้ยงควรเป็น การเลี้ยงแบบ all - in, all - out system คือการเลี้ยงไก่อายุเดียวกัน ภายในโรงเรือนเดียวกัน และขายออกในเวลาเดียวกัน (เข้าพร้อมกัน - ออกพรอมกัน) นอกจากควบคุมโรคต่าง ๆ ได้ง่ายยังสามารถทำ ความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ พร้อมกับการพักโรงเรือน ประมาณ 10 - 20 วัน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในระหว่างการเลี้ยงก่อนนำ ไก่ชุดใหม่ เข้าเลี้ยงในเวลาต่อมา
2. จำนวนไก่ที่สั่งจองเพื่อนำเข้าเลี้ยง มีปัจจัยเป็นตัวกำหนดจำนวนไก่ที่จะสั่งจองเข้าเลี้ยง คือ
1. ขนาดความจุของโรงเรือน แต่ละโรงเรือนสามารถนำเข้าไก่ได้มากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
2. อุปกรณ์ใส่อาหาร - ใส่น้ำ มีจำนวนเพียงพอ และเหมาะสมกับจำนวนไก่แต่ละประเภท
3. ฤดูกาล เป็นตัวกำหนดอัตราการเลี้ยงต่อพื้นที่ของโรงเรือนด้วย เช่น ฤดูหนาว อากาศเย็น จำนวนไก่ต่อพื้นที่ย่อมมากกว่าฤดูร้อน
4. ประเภทของไก่ เช่น ไก่เนื้อ, ไก่ไข่, ไก่พันธุ์ ย่อมใช้อัตราส่วนของพื้นที่แตกต่างกัน
5. สภาพการถ่ายเทอากาศ ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมากต่ออุณหภูมิภายในโรงเรือน
เมื่อเราทราบว่าจำนวนลูกไก่ที่จะสั่งจอง ตามปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดแล้วเราก็สามารถที่จะกำหนดไก่ที่เราจะส่งตลาดเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงได้เช่นกัน สมมุติว่าต้องการมี การส่งตลาด 10,000 ตัว เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยง ในจำนวนลูกไก่ 10,000 ตัว จะมีส่วนเกิน (แถม) 2% และต้องคิด % คัดทิ้ง และ % ตาย ระหว่างการเลี้ยงประมาณ 5% เมื่อนำมาคิดจำนวนลูกไก่ที่ต้องการเข้าเลี้ยงอย่างแท้จริงคือ
จำนวนลูกไก่ที่ต้องการส่งตลาด 10,000 ตัว
จำนวนไก่ที่ควรส่งจองเพื่อชดเชย % ตาย และ % คัดทิ้ง 10,523 ตัว
(โดยคิด % ตายและ % คัดทิ้ง = 5%)
จำนวนไก่ที่สั่งจอง บวกส่วนแถม 2% = 10,000 + 200 ตัว
= 10,200 ตัว
จำนวน ไก่ที่ต้องสั่งจอง = 10,523 x 100
10,200
= 10,316 ตัว
หรือ = 10,400 ตัว
จึงจะมีไก่เพื่อส่งตลาดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,000 ตัว
ขั้นตอนการปฏิบัติการเลี้ยงดู
1. การเตรียมพร้อมก่อนลูกไก่จะมาถึง
ก่อนจะนำลูกไก่เข้าเลี้ยงภายใต้กกในโรงเรือน จะต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เช่น ทดสอบเครื่องกกปรับตั้งอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการกกอย่างเหมาะสมคือสัปดาห์ที่ 1 อุณหภูมิ ประมาณ 32 - 34 ํC สัปดาห์ที่ 2 30 - 32 ํC และสัปดาห์ที่ 3 28 - 30 ํC ก่อนที่ลูกไก่จะมาถึงควรเปิดกกความร้อนไว้ ประมาณ 2 - 3 ชม. เพื่อให้ใต้กกอุ่นพอที่ลูกไก่จะได้รับบน วัสดุรองพื้ หากเป็นไปได้ควรปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ซ้อนกันประมาณ 7 - 10 ชั้น ให้เต็มพื้นที่ กกเพื่อใช้โปรยอาหารเพื่อลูกไก่จะได้เห็นอาหารได้ง่ายขึ้นในวันแรกและหยิบ กระดาษหนังสือพิมพ์ออกวันละ 1 ชิ้น เพื่อให้พื้นสะอาดอยู่ตลอดยิ่งดี นอกจากนั้นยังป้อนกันแกลบ เข้าปะปนกับอาหารและน้ำอีกด้วย
2. ปิดผ้าม่านด้านข้างรอบโรงเรือน เพื่อป้องกันลมโกรก
เนื่องจากลูกไก่ระยะกกซึ่งยังเล็กอยู่จะไม่ชอบให้ลมพัดมาก กระทบถูกโดยตรง เพราะลูกไก่ระยะนี้ยังต้องการความร้อนความอุ่นนั้นเองม่านนอกจากจะป้องกันลม แล้วยัง ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในกกลูกไก่นั้นให้คงที่อีกด้วย และจะค่อย ๆ เปิดม่านขึ้นเพื่อให้อากาศถ่ายเทเมื่ออากาศร้อนและเปิดเมื่ออายุของลูกไก่มากขึ้น เมื่อพ้นระยะกก (3 สัปดาห์) ทำการเก็บผ้าม่านออกไม่มีความจำเป็นต้องปิดอีกต่อไป
3. ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อลูกไก่มาถึง
1. รีบนำลูกไก่ลงจากรถทันที และนำไปวางไว้ตามกกแต่ละกก ตามจำนวนกก ๆ ละประมาณ 500 - 600 ตัว และไม่คววางกล่องลูกไก่ซ้อนกัน
2. เปิดฝากล่องบรรจุลูกไก่ออกทันทีเพื่อตรวจสอบสภาพลูกไก่และเพื่อระบายความร้อน
3. ปล่อยลูกไก่ลงกก ควรปล่อยอย่างระมัดระวังพร้อมนับจำนวนว่าถูกต้องหรือไม่ โดยปล่อยกระจายไปรอบ ๆ กก เพื่อให้ลูกไก่เกิดการเรียนรู้แล้วเข้าหาความอบอุ่นเอง ไม่ควรเทลูกไก่ออกจากกล่องลงกก เพราะไก่จะเครียดมากขึ้น
4. ให้น้ำที่ได้จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ไก่ดื่มหลังจากปล่อยลูกไก่ลงกก และประมาณ 15 - 20 นาที (ลูกไก่หายจากอาการหอบเหนื่อยแล้ว) การวางควรวางไป รอบๆ กกสลับกับภาชนะใส่อาหาร และน้ำที่ให้ลูกไก่ดื่ม ควรผสมด้วย อีเล็กโทรไลท์ (ยาลดความเครียดจากการขนย้าย) หรือไวตามิน หรือ ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน และเพื่อให้ลูกไก่ฟื้นสภาพอ่อนเพลีย ได้เร็วขึ้น แข็งแรง และเจริญเติบโตตามปกติ
5. ให้อาหารที่จัดเตรียมไว้หลังจากให้น้ำประมาณ 20 - 30 นาที ซึ่งอาหารในมื้อแรกของลูกไก่ควรเป็น พวกปลายข้าว หรือข้าวโพดป่น โดยให้ไก่กินอยู่นาน ประมาณ 1-2 ชม. เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่เกิดการเรียนรู้ และย่อยอาหารในขั้นแรกเสียก่อน เพราะว่าในสารอาหารจะประกอบด้วยวัตถุดิบหลายชนิดโดยเฉพาะ พวกปลาป่น และเกลือ ซึ่งมีความเค็มสูงอาจทำให้ลูกไก่ท้องเสียหรืออุจจาระติดกัน หลังจากลูกไก่กินข้าวโพดหรือปลายข้าว หมดแล้วจึงให้อาหาร
6. ตรวจความเรียบร้อยหลังจากปล่อยไก่ลงกกเพื่อกินน้ำ และอาหารจนเรียบร้อยทุกกกแล้ว ในบางครั้งอาจพบว่าลูกไก่บางตัวอ่อนเพลียจากการเดินทางควรจับลูกไก่ บางตัวเอาปากจุ่มน้ำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และกินน้ำได้เองในเวลาต่อมา สังเกตุการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอของลูกไก่แต่ละกก ว่าเป็นอย่างไรหากพบข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไช
4. การปฏิบัติเลี้ยงดูลูกไก่ระยะแรก
การเลี้ยงไก่ในระยะกกผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ลูกไก่อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการกกโดยปฏิบัติดังนี้ คือ
1. อาหาร การให้อาหารลูกไก่ระยะกก ควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อให้ลูกไก่กินหมดภายในระยะเวลา 1 - 2 ชม. ซึ่งการให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเช่นนี้จะทำให้ลูกไก่มีความ กระตือรือร้นในการแย่งกันกินอาหารมากขึ้น และได้กินอาหารใหม่ ๆ อยู่ตลอด ซึ่งการให้ครั้งละมาก ๆ อาหารจะถูกลูกไก่คุ้ยเขี่ยและเหยียบย่ำ
และมีอุจจาระ หรือแกลบ ปะปนอยู่ ลูกไก่จะเบื่ออาหารทำให้เจริญเติบโตไม่ดี ความแข็งแรงสมบูรณ์ต่ำลง
2. น้ำ น้ำที่จัดให้สำหรับไก่ดื่มต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อไก่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของไก่
3. อุปกรณ์ใส่อาหาร - ใส่น้ำ เมื่อไก่อายุการเลี้ยงมากขึ้นความต้องการอาหารและน้ำย่อมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใส่น้ำ และใส่อาหารจำเป็นต้องจัดให้เพียงพอต่อความ ต้องการของไก่และใช้ภาชนะใส่น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับอายุของไก่โดยปรับระดับภาชนะตามความสูงของไก่ เพื่อลดการคุ้ยเขี่ยตกหล่นและการเปียกชื้นบริเวณที่ตั้งน้ำ ซึ่งอุปกรณ์ใส่น้ำ ก็ต้องล้างให้สะอาดทุกวัน
4. การขยายพื้นที่ จำเป็นต้องขยายพื้นที่กกให้กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ของลูกไก่ การขยายพื้นที่นั้นจะต้องกระทำทุก 3 วัน โดยขนาดแผงล้อมกก ออกครั้งละประมาณ 3 - 5 นิ้ว เป็นรัศมีโดยรอบ
5. การเปิดผ้าม่าน ผ้าม่านที่ปิดไว้รอบ ๆ โรงเรือนจะต้องเปิดออกเมื่ออากาศภายในโรงเรือนร้อน และกกที่ใช้กกลูกไก่ร้อน โดยค่อย ๆ เปิดออก การเปิดจะเปิดด้าน บนลงสู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันมิให้ลมพัดกระทบตัวไก่โดยตรง
6. การปรับความร้อนเครื่องกกให้เหมาะสม เมื่อไก่โตขึ้นการสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายของตัวเองมีมากขึ้น ฉะนั้นเครื่องกกที่ให้ความอบอุ่นก็จะมีความจำเป็น น้อยลงตามลำดับ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่นอย่างเหมาะสม ซึ่งลูกไก่ที่ได้รับความร้อน ความอบอุ่นที่เหมาะสม ลูกไก่จะนอนกระจายเรียงรายภายใต้กก บางตัวนอนยืดคอ พาดไปตามพื้นอย่างสบายและมีความกระปรี้กระเปร่าในการกินน้ำ กินอาหาร ถ้าความร้อนสูงเกินไป ลูกไก่จะหนีห่างจากเครื่องกกไปอยู่รอบ ๆ แผงล้อมกก ส่งเสียงร้องดังอยู่ ตลอดเวลาและถ้าความร้อนมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ๆ ลูกไก่จะแสดงอาการโผเผ ไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปบางตัวปีกตกขนไม่เรียบร้อย ลักษณะของ
อุจจาระแห้งมากกว่าปกติด้วย แต่ถ้าความอบอุ่นไม่เพียงพอ ลูกไก่จะเบียดเสียดยัดเยียดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ใต้เครื่องกก เพื่อให้ได้ความอบอุ่นจนมีการสุ่มทับ กันตาย หากขาดความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานลักษณะของลูกไก่ที่ได้รับความอบอุ่นไม่เพียงพอจะมีลักษณะ ยืนตัวสั่น, ปีกตก, อุจจาระติดกัน, ท้องเสีย และลักษณะของ อุจจาระจะเปียบมากกว่าปกติ
ดังนั้น การปรับความร้อนเพื่อใช้ในการกกจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการเลี้ยงลูกไก่ ซึ่งในทางปฏิบัติการปรับความร้อนให้พอเหมาะกับความต้องการของลูกไก่ที่จะ ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ จะทำควบคู่กันไปกับการขยายพื้นที่กกโดยยกเครื่องกกได้สูงขึ้น 1 นิ้ว ทุก 3 วัน กระทำเช่นนี้จนกว่าจะพ้นระยะการกก
7. การสังเกตุ
1. หลังจากให้อาหารแต่ละมื้อควรสังเกตลูกไก่ ภายในกกทุกตัวว่าเป็นอย่างไรโดยทั่วไปลูกไก่ที่สุขภาพแข็งแรง หลังจากให้อาหารความสนใจของลูกไก่จะอยู่ที่อาหาร แย่งกันกินอาหารอย่างเพลิดเพลินทุกตัว หากการให้อาหารมื้อใด ลูกไก่บางตัวหรือส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจอาหารที่ให้ใหม่ แสดงถึงความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกไก่ฝูงดังกล่าวต้องรีบ ค้นหาสาเหตุ และรีบแก้ไขทันที
2. สังเกตุการกินน้ำ โดยทั่ว ๆ ไปการกินน้ำของไก่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามลำดับ ยกเว้นสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น หนาว หรือร้อน ผิดปกติ การกินน้ำ จะน้อยหรือมากตามสภาวะกาลนั้น ๆ หากพบว่าสภาพอากาศปกติ แต่การกินน้ำของไก่ลดลง ลูกไก่ไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของลูกไก่ที่จะแสดง อาการป่วยให้เห็นใน วัน เวลา ถัดมา เมื่อสังเกตุพบการกินน้ำน้อยลงผิดปกติ จึงควรรีบแก้ไขก่อนจะเกิดผลเสียหาย
3. การสังเกตุทั่ว ๆ ไป เช่น สภาพกกร้อนเกินไป, หนาวเกินไป, จำนวนไก่แน่นเกินไป, จำนวนที่ใส่น้ำ, ใส่อาหารเพียงพอ หรือไม่, ลักษณะของอุจจาระ, วัสดุรองพื้น ชื้นเกินไป แห้งเกินไปหรือไม่ หากพบปัญหาใดก็ตามที่เกิดขึ้นต้องรีบ
แก้ไขทันทีทันใด เพื่อลดสภาวะเครียดของลูกไก่ได้ทันท่วงที จะได้ไม่ก่อให้เกิดความเสีย
4. การจดบันทึก การเลี้ยงไก่จะประสบผลสำเร็จ มากน้อยเพียงใดต้องอาศัยการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิโรงเรือน, ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมดในการเลี้ยง, น้ำหนักตัว, การทำวัคซีน, ประวัติการเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่มีการบันทึกไว้อย่างละเอียดในระหว่างการเลี้ยงจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงแล้วนำข้อมูล เหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องอันที่สามารถเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าในลักษณะเช่นเดิมที่เคยประสบมาย่อมเป็นผลดีต่อการเลี้ยงไก่ ในรุ่นต่อ ๆ ไป