สถิติ
เปิดเมื่อ13/08/2014
อัพเดท24/09/2014
ผู้เข้าชม20174
แสดงหน้า24881
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




บทความ

การจัดการการเลี้ยงดู
 ระยะกกเป็นระยะสำคัญที่ต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก  เนื่องจากลูกไก่ยังเล็กเกิดปัญหาสุขภาพและตายได้ง่าย  ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการดูแล  ดังนี้
1.1    การเตรียมโรงเรือนและสถานที่กก
ก่อนนำไก่เข้าเลี้ยงต้องเตรียมโรงเรือนให้สะอาดเพื่อลดโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรค  การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคโรงเรือนให้พิจารณาทำตามลำดับก่อนและหลัง  ดังนี้
1.1.1     นำอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากโรงเรือน ระยะกกเป็นระยะสำคัญที่ต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก  เนื่องจากลูกไก่ยังเล็กเกิดปัญหาสุขภาพและตายได้ง่าย  ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการดูแล  ดังนี้
1.1    การเตรียมโรงเรือนและสถานที่กก
ก่อนนำไก่เข้าเลี้ยงต้องเตรียมโรงเรือนให้สะอาดเพื่อลดโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรค  การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคโรงเรือนให้พิจารณาทำตามลำดับก่อนและหลัง  ดังนี้
1.1.1     นำอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากโรงเรือน
1.1.2     นำวัสดุรองพื้นเก่าออกจากโรงเรือน
1.1.3     ล้างโรงเรือน
1.1.4     ฆ่าเชื้อทุกซอกทุกมุมในโรงเรือน
1.1.5     ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ  อุปกรณ์  ทิ้งตากแดดไว้หรือเก็บในที่สะอาด
1.1.6     ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อระบบให้น้ำและระบบให้อาหารทั้งระบบ
1.1.7     นำวัสดุรองพื้นใหม่เข้าโรงเรือน  ซึ่งส่วนมากใช้แกลบ เกลี่ยวัสดุรองพื้นให้มีความหนา  8 – 10  เซนติเมตร  แล้วพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นละอองลงบนวัสดุรองพื้นก่อนนำลูกไก่ เข้า
1.1.8     ติดตั้งแผงกั้นและเครื่องกกลูกไก่  โดยพยายามไม่ให้มีซอกมุม  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เข้าไปนอนสุมกัน  แผงล้อมกกควรทำความสะอาดง่ายและมีลักษณะทึบไม่มีรูหรือตาข่าย  เพื่อช่วยในการเก็บความร้อนจากเครื่องกก  ในช่วง 1 – 3  วันแรก  อาจใช้พื้นที่การเลี้ยงลูกไก่ที่ความหนาแน่นลูกไก่  20 – 30  ตัวต่อตารางเมตร  เครื่องกกไฟฟ้าหรือกกแก๊สปกติจะใช้กกลูกไก่  500  ตัวต่อ  1  เครื่องกก  ควรขยายแผงกั้นกกทุก ๆ  2 วัน  เพื่อให้มีพื้นที่เหมาะสมให้ลูกไก่อยู่อย่างสบาย  ในการติดตั้งเครื่องกกควรมีระดับความสูงที่เหมาะสมกับชนิดของเครื่องกกโดยให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่นที่เหมาะสมที่สุด  เปิดเครื่องกกอย่างน้อย  1 – 2  ชั่วโมง  ก่อนลูกไก่มาถึงฟาร์ม
1.1.9     จัดเตรียมอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำให้พร้อมและเพียงพอกับจำนวนลูกไก่ ในการวางอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำ  ควรวางสลับกัน  การวางอุปกรณ์ให้น้ำควรมีวัสดุรองให้สูง   ขึ้นประมาณ  5  เซนติเมตร  เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของวัสดุรองพื้นลงน้ำ
1.2    การจัดการเมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์ม
เมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์ม  ควรนำกล่องลูกไก่เข้าโรงเรือนทันที  ชั่งน้ำหนักลูกไก่    ต่อกล่อง  ตรวจดูสภาพลูกไก่  นับจำนวนลูกไก่  จดบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ  ปล่อยลูกไก่ลงกกและควรให้น้ำผสมวิตามินให้ไก่กินอย่างทั่วถึง  หลังจากไก่กินน้ำประมาณ  30  นาที  จึงวางถาดอาหารแล้วโรยอาหารลงในถาดให้ไก่กินอย่างทั่วถึง  ควรให้อาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเพราะจะช่วยกระตุ้นให้ลูกไก่กินอาหารได้มากขึ้น  เมื่อลูกไก่อายุได้ 6 – 7 วัน  ควรเปลี่ยนอุปกรณ์การให้น้ำ    เป็นแบบจุ๊บและอุปกรณ์ให้อาหารเป็นแบบถังอาหาร
1.3    การให้น้ำและอาหาร
การให้น้ำจะต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา  อุปกรณ์ให้น้ำต้องสะอาดและเพียงพอกับความต้องการของไก่  การให้อาหารไก่เล็กควรให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง  เพื่อป้องกันการหกหล่นและอาหารสดอยู่เสมอ  อาหารจะต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา
1.4    การให้ยาและวิตามิน
ในสภาวะปกติลูกไก่ที่สมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือวิตามินใด ๆ การให้ยามักให้ในกรณีที่ลูกไก่ไม่ค่อยสมบูรณ์หรือสงสัยว่ามีเชื้อแบคทีเรีย   มักให้  3 – 5 วัน  การให้วิตามินเพื่อเสริมสิ่งที่ร่างกายต้องการซึ่งอาจมีไม่พอในสูตรอาหาร หรือเกรงว่าสิ่งที่มีอยู่ในอาหารอาจเสื่อมคุณภาพลง  โดยเฉพาะในกรณีลูกไก่คุณภาพไม่ค่อยดีนัก
1.5    การจัดการแสงสว่าง
ลูกไก่ต้องการแสงที่ค่อนข้างสว่างในช่วงอายุสัปดาห์แรก  เพื่อให้ลูกไก่เห็นน้ำ และอาหารอย่างชัดเจน และเป็นการกระตุ้นการกินน้ำและอาหารของลูกไก่ด้วย ความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า  50  ลักซ์  ที่ระดับตัวลูกไก่  เมื่อลูกไก่อายุ  7  วันแรก
 
1.6    การควบคุมอุณหภูมิ
ลูกไก่อายุ  7  วันแรก  มีขีดจำกัดในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  เมื่อลูกไก่อายุ  1  วัน  อุณหภูมิของร่างกายประมาณ  39.7  องศาเซลเซียส  และจะค่อย ๆ ปรับสูงขึ้น  อุณหภูมิที่ร้อนเกินไปมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน  ขณะที่อุณหภูมิเย็นเกินไปไก่จะสุมกันและทับกันตาย  ไก่ที่เหลือจะโตช้าและมีขนาดไม่สม่ำเสมอ  อุณหภูมที่เย็นเกินไปยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้ลูกไก่ท้องมานมากขึ้น  อุณหภูมิในบริเวณพื้นที่การกกต้องไม่ต่ำกว่า  31  องศาเซลเซียส  สำหรับลูกไก่ในช่วงอายุสัปดาห์แรก